ปราจีนบุรี-ธุรกิจมะระขี้นกความต้องการสูงส่งบริษัทผลิตยา (ชมคลิป)

ปราจีนบุรี-ธุรกิจมะระขี้นกความต้องการสูงส่งบริษัทผลิตยา

จากนักธุรกิจเจ้าของโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ส่งต่างประเทศ วันนี้ผันตัวมาเป็นเกษตรกรปลูกมะระขี้นกป้อนบริษัทผลิตยา
แม้กระแสการแพร่ระบาดของ ไวรัส โควิด – 19 จะยังคงเป็นปัญหา แต่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มชาววัง ต.วังท่าช้าง อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ที่รวมกลุ่มกันกว่าสิบคน มี คุณ หนึ่งฤทัย หรือนก อาจยางคำ นักธุรกิจรุ่นใหม่เจ้าของโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ ที่ผันตัวเองมาเป็นเกษตกรเต็มตัว ตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มชาววัง รวมสมาชิกกว่า 10 ราย ปลุกมะระขี้นกบนที่รวมๆกันหลายสิบไร่เพื่อส่งผลผลิตป้อนบริษัทผลิตยา


คุณนก หรือ หนึ่งฤทัย เล่าถึงจุดเริ่มต้นการก่อตั้ง กลุ่มชาววัง หรือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน จากผืนดินว่างเปล่าที่มีอยู่มากพอสมควรถูกทิ้งไว้จึงคิดว่าจะทำอะไรให้เกิดประโยชน์ ประจวบกับมีผู้มาเสนอว่าให้ปลุกมะระขี้นกเป็นวัตถุดิบป้อนบริษัทผลิตยาที่ขณะนี้มีความต้องการสูง หลังพูดคุยหารือกันแล้วจึงใช้พื้นที่ที่มีอยู่ทดลองปลุก ก็ได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ มะระเป็นพืชล้มลุกที่ปลูกง่ายดูแลง่ายทนต่อศัตรูพืชต่างๆได้ดี ปลูกแล้วใช้คนดูแลน้อยเพราะเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านที่ไม่มีความรู้ในเรื่องเทคโนโลยี การปลูกมะระก็ไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีใดๆ เพื่อให้ชาวบ้านหรือเกษตรกรได้รับผลประโยชน์สูงสุดจึงตัดสินใจก่อตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มชาววัง ขึ้นมาเพื่อรวมตัวกันปลูกมะระขี้นกป้อนบริษัทผลิตยา

ให้เป็นไปตามข้อกำหนดเงื่อนไขของบริษัท ที่กำหนดให้เป็นการปลูกแบบอินทรีย์ร้อยเปอร์เซ็นต์ มีการตรวจสอบและวัดคุณภาพอย่างสม่ำเสมอซึ่งหากทุกอย่างอยู่ภายใต้ข้อตกลง โดยทางบริษัทจะรับซื้อมะระขี้นกตากแห้งในราคา กก.ละ 180 บาท ถึง 220 บาท แต่เนื่องจากการตากหรืออบแห้งเป็นอุปสรรคกับสมาชิกทางตนในฐานะหัวหน้ากลุ่มจึงรับเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งหมดไม่ต้องให้กลุ่มยุ่งยากในขั้นตอนสุดท้ายโดยจะรับซื้อมะระสดในราคา กก.ละ 15 บาท เป็นราคาที่รับประกันแต่ถ้าหากมะระมีราคาสูงก็จะให้ราคามากกว่านี้ ซึ่งสมาชิกมีความพอใจเพราะมีรายได้มาใช้จ่ายในครอบครัวอย่างไม่เดือดร้อนแม้ในสภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้


ขั้นตอนสุดท้ายก่อนส่งบริษัทยา จะนำมะระไปล้างทำความสะอาดแล้วใส่เครื่องหั่นก่อนนำไปตากในโรงเรือนปิดเพื่อป้องกันแมลงหรือสิ่งปนเปื้อนข้อดีของโรงเรียนแบบนี้สามารถกระจายความร้อนได้เท่ากันทั่วโรงเรือน จากนั้นให้รอสามแดดหรือสามวันก็จะเก็บที่สำคัญควรเก็บในช่วงบ่ายเนื่องจากในช่วงเช้ามะระจะมีความชื้นสูง ซึ่งขณะนี้มีออเดอร์เข้ามาค่อนข้างมากทำให้ทางกลุ่มผลิตไม่ทันในอนาคตอาจมีการเพิ่มสมาชิกในกลุ่มเพื่อให้ผลผลิตเพียงพอกับความต้องการซึ่งคิดว่า เกษตรกรที่มีอาชีพปลูกมะระขี้นกแบบอินทรีย์จะยังมีอนาคตสดใสอีกยาวนาน

/////// ณัฐวัฒน์ กุลเศรษฐ์สุวภา ผู้สื่อข่าว จ.ปราจีนบุรี

Related posts