“สตม.พร้อมทำงานและให้ข้อมูลข่าวสารตลอดจนกฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้องร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขอย่างเต็มที่ โดยเน้นการทำความเข้าใจและรับผิดชอบต่อสังคมไทยก่อนจะบังคับใช้กฎหมาย………
” ด้าน พ.ต.อ.ภัคพงศ์ สายอุบล รอง ผบก.ตม.1/รองโฆษกสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) ปฏิบัติหน้าที่แทน พล.ต.ต.สุรพงษ์ ชัยจันทร์ รอง ผบช.สตม./โฆษก สตม. กล่าวว่า ทาง พล.ต.ท.สมพงษ์ ชิงดวง ผบช.สตม.มีความห่วงใย ได้สั่งการช่วยเหลือทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขอย่างเต็มที่ ตามอำนาจหน้าที่การกับปฏิบัติและขอบเขตของกฎหมายที่มี โดยตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 และมีการเฝ้าระวังการแพร่ระบาด สตม.ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยสนับสนุนภารกิจของการควบคุมโรคติดต่ออันตรายอย่างเคร่งครัด โดยทำหน้าที่สนับสนุนเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศที่เดินทางมาจากประเทศที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตาย และ สนับสนุนผู้ว่าราชการจังหวัดควบคุมการพำนักคนต่างชาติที่มาจากประเทศนอกรายชื่อประกาศประเทศโรคติดต่ออันตราย ตามที่พักที่แจ้งใน ตม.6 โดยประสานความร่วมมือกับผู้ประกอบการที่พัก
ดังนั้นจึงขอความร่วมมือประชาชนคนไทย และบุคคลชาวต่างชาติที่เดินทางมาจากประเทศสาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐประชาชนจีน รวมถึงเขตบริหารพิเศษมาเก๊าและเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ,สาธารณรัฐอิตาลี และ สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตรายกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และมีความประสงค์เดินทางเข้าประเทศ ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ประจำด่านควบคุมโรคประจำท่าอากาศยานหรือจุดผ่านแดนอย่างเคร่งครัดด้วย กรณีบุคคลใดที่ผ่านการคัดกรองเบื้องต้น ก็ขอให้ปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมายคนเข้าเมือง ด้วยพำนักอยู่ภายในที่พักตามที่ระบุแจ้งในใบทะเบียนตรวจคนเข้าเมือง ส่วนคนไทยก็ให้กลับไปกักตัวเองในที่พักตามประวัติที่อยู่ในระบบตรวจคนเข้าเมือง เป็นเวลา 14วัน ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่เข้าไปติดตามอาการตลอดเวลา และหากตรวจพบว่า ไม่ได้มีการพำนักจริงตามแจ้ง นอกจากผู้ฝ่าฝืนจะมีความผิดตามพ.ร.บ. ควบคุมโรคติดต่อ 2558 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1ปี หรือปรับไม่เกิน 1แสนบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับแล้ว เจ้าของบ้านพัก หรือสถานประกอบการที่พักอาศัย ที่ชาวต่างชาติดังกล่าวแจ้งระบุไว้ในระบบตรวจคนเข้าเมือง ก็อาจจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ไปด้วย โดยหากเจ้าของบ้านพัก หรือ เจ้าของเคหะสถานต้องระวางโทษปรับตั้งแต่800-1,600บาท แต่หาก เป็นผู้จัดการสถานประกอบการธุรกิจที่พักอาศัย จะต้องระวางโทษปรับตั้งแต่2,000-4,000บาท จากมติของคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ สตม.
ในส่วนของ สตม. ทางด้าน พ.ต.อ.ภัคพงศ์ สายอุบล รอง ผบก.ตม.1 ในฐานะรองโฆษกสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) ปฏิบัติหน้าที่แทน พล.ต.ต.สุรพงษ์ ชัยจันทร์ รอง ผบช.สตม./โฆษก สตม. กล่าวว่า ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 และมีการเฝ้าระวังการแพร่ระบาด สตม.ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยสนับสนุนภารกิจของการควบคุมโรคติดต่ออันตรายอย่างเคร่งครัด และมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานเจ้าภาพหลักและตามสั่งการของรัฐบาล โดยสตม.ทำหน้าที่สนับสนุนเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศที่เดินทางมาจากประเทศที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตาย และ สนับสนุนผู้ว่าราชการจังหวัดควบคุมการพำนักคนต่างชาติที่มาจากประเทศนอกรายชื่อประกาศประเทศโรคติดต่ออันตราย ตามที่พักที่แจ้งใน ตม.6
โดยประสานความร่วมมือกับผู้ประกอบการที่พัก ดังนั้นจึงขอความร่วมมือประชาชนคนไทย และบุคคลชาวต่างชาติที่เดินทางมาจากประเทศสาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐประชาชนจีน รวมถึงเขตบริหารพิเศษมาเก๊าและเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ,สาธารณรัฐอิตาลี และ สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตรายกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และมีความประสงค์เดินทางเข้าประเทศ ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ประจำด่านควบคุมโรคประจำท่าอากาศยานหรือจุดผ่านแดนอย่างเคร่งครัดด้วย กรณีบุคคลใดที่ผ่านการคัดกรองเบื้องต้น ก็ขอให้ปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมายคนเข้าเมือง ด้วยพำนักอยู่ภายในที่พักตามที่ระบุแจ้งในใบทะเบียนตรวจคนเข้าเมือง ส่วนคนไทยก็ให้กลับไปกักตัวเองในที่พักตามประวัติที่อยู่ในระบบตรวจคนเข้าเมือง เป็นเวลา 14วัน ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่เข้าไปติดตามอาการตลอดเวลา และหากตรวจพบว่า ไม่ได้มีการพำนักจริงตามแจ้ง นอกจากผู้ฝ่าฝืนจะมีความผิดตามพ.ร.บ. ควบคุมโรคติดต่อ 2558 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1ปี หรือปรับไม่เกิน 1แสนบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับแล้ว เจ้าของบ้านพัก หรือสถานประกอบการที่พักอาศัย ที่ชาวต่างชาติดังกล่าวแจ้งระบุไว้ในระบบตรวจคนเข้าเมือง ก็อาจจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ไปด้วย
โดยหากเจ้าของบ้านพัก หรือ เจ้าของเคหะสถานต้องระวางโทษปรับตั้งแต่800-1,600บาท แต่หาก เป็นผู้จัดการสถานประกอบการธุรกิจที่พักอาศัย จะต้องระวางโทษปรับตั้งแต่2,000-4,000บาท ตามมติคณะกรรมการเปรียบเทียบ ………ทางด้าน พ.ต.อ.ภัคพงศ์ ฯ กล่าวทิ้งท้ายว่าอยากจะให้ปฎิบัติตามระเบียบข้อกฏหมายด้วยใจและมีความรับความผิดต่อสังคมและคนรอบข้าง มากกว่าจะไปใช้มาตราการตามกฎหมาย แต่หากยังฝ่าฝืนกันจริงๆก็ไม่มีทางเลือกที่จะต้องบังคับใช้กฎหมายทั้งกฎหมายพิเศษของกระทรวงสาธารณสุขและและกฎหมายของตำรวจตรวจคนเข้าเมือง โดยหากประชาชนท่านใดเป็นญาติหรือรู้จักกับบุคคลที่เป็นกลุ่มที่จะต้องปฎิบัติ ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ก็ขอให้ช่วยกันเเจ้งช่วยกันเตือนให้ปฎิบัติ หรือหากผู้ใดมีเบาะแสการไม่ปฎิบัติตามขั้นตอนดังกล่าว ในส่วนของสาธารณสุข สามารถแจ้งได้ที่หมายเลข 1142 และในส่วนที่เกี่ยวข้องในอำนาจหน้าที่ของตำรวจตรวจคนเข้าเมือง สามารถแจ้งได้ที่สายด่วน สตม.1178 หรือที่ทำการของตรวจคนเข้าเมืองในเขตพื้นที่นั้นๆได้ทันที เพราะมีครบทุกจังหวัดแล้วรวมถึงกรุงเทพมหานครด้วยในขณะนี้ พ.ต.อ.ภัคพงศ์ กล่าวทิ้งท้ายในที่สุด
จึงขอความอนุเคราะห์ส่งข่าวให้สื่อมวลชนทุกแขนงลงข่าวเพื่อประชาสัมพันธ์ในเกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อสังคมและประเทศไทย…..
ขอบคุณมากครับ จาก พ.ต.อ.ภัคพงศ์ สายอุบล รอง โฆษก สตม. ปฏิบัติหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสารแทน พล.ต.ต.สุรพงษ์ ชัยจันทร์ โมษก สตม. (เวลาส่งข่าว จันทร์ 9 มี.ค.63 เวลา 12.19 น. )