5 ข้อของ “โทนีแบลร์” กับ “บิ๊กจิ๋ว” หลักการเดียวกัน :

5 ข้อของ “โทนีแบลร์” กับ “บิ๊กจิ๋ว” หลักการเดียวกัน :

ในงานการปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ผนึกกำลังสู่อนาคตเรียนรู้ร่วมกันจากประสบการณ์” โดยมีนายโทนี่แบลร์อดีตนายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร, นายมาร์ตี  อาร์ติซารี อดีตประธานาธิบดีฟินแลนด์ นางพริซิลลา เฮเนอร์ ผูเชี่ยวชาญอิสระดานความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านและที่ปรึกสาอาวุโสของ Centre for Humanitarian  Dialogue ร่วมเป็นองค์ปาฐกและมีบุคคลสำคัญมากมาย

สิ่งที่น่าสนใจก็จากการปาฐกของนายโทนีแบลร์ ที่มีความเชื่อมั่นใจเรื่องของความปรองดอง ซึ่งหลักการของความปรองดองสอดคล้องกับข้อเสนอทางทางการเมืองที่พลเอกชวลิต  ยงใจยุทธ  “บิ๊กจิ๋ว” เสนอไว้ ซึ่งก็คือหลักการสร้างประชาธิปไตย นั้นเอง  เพราะความปรองดอง นั้น จะเป็นหลักการเผด็จการไม่ได้ ถ้าเป็นหลักการเผด็จการก็ไม่สามารถทำความปรองดองขึ้นมาได้  จะต้องเป็นหลักการประชาธิปไตยอย่างเดียว เท่านั้น ถึงทำให้เกิดความปรองดอง สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองได้  โดยนายโทนี่แบลร์ได้ยกเอาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสหราชอาณาจักร ที่มีความขัดแย้งทางการเมืองจนเกิดสงครามกลางเมือง เหมือนเหตุการณ์ทางการเมืองของไทยในช่วงสงครามกลางเมืองระหว่างกองทัพแห่งชาติกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยและสถานการณ์ทางการเมืองของไทยในเวลานี้

การสร้างความปรองดอง นั้น จึงเป็นอื่นไม่ได้ เช่น ปรองดองทางเศรษฐกิจ, ปรองดองสังคม,ปรองดองทางศาสนา ปรองดองระหว่างพรรคฝ่ายค้านกับพรรครัฐบาล,ปรองดองระหว่างฝ่ายถูกรัฐประหารกับฝ่ายทำรัฐประหาร  ซึ่งปรองดองเหล่านี้จะไม่สามารถแก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองลงไปได้และยิ่งเป็นความปรองดองในการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยแล้วยิ่งไม่สามารถสร้างปรองดองมาได้ ความท้าทายในสิ่งนี้จะเป็นความท้ายทายที่เสียเวลาเปล่า เพราะท้าทายมามากจนได้รัฐธรรมนูญถึง 18 ฉบับและเป็นเวลานานแล้วถึง 81 ปี   แต่ไม่เสร็จสักรัฐบาลเดียว ความท้าทายในเรื่องนี้จึงน่าจะเรียกว่าความไร้เดียงสาทางการเมืองมากกว่า

เพราะฉะนั้น ความปรองดอง ก็คือ การปกครองแบบประชาธิปไตย  ในทุกบ้านเมืองที่เกิดความขัดแย้งก็ล้วนเกิดมาจากการปกครองแบบเผด็จการ ซึ่งก็เป็นความพยายามที่ทุกๆรัฐบาลของไทยพยายามที่จะแก้ไขการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย แต่ก็ทำได้แค่การเปลี่ยนรัฐธรรมนูญใหม่ ได้เลือกตั้ง ได้มีการเคลื่อนไหวมวลชนเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย แต่ทำไม่ได้สักรัฐบาลเดียว ดังนั้น ปัญหาของรัฐบาลไทยที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เพราะเกิดปัญหาการเมืองหรือปัญหาการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย จึงมีการเรียกร้องระบอบประชาธิปไตยกันเรื่อยมา

จนมาถึงสถานการณ์นี้ มีการเรียกร้องความปรองดองกันขึ้นมามากมาย  แต่ก็ไม่สามารถสนองความต้องการประชาธิปไตยที่แท้จริงได้เพราะข้อเรียกร้องในการเคลื่อนไหวที่ผ่านมาของผู้นำ นักการเมือง นักเคลื่อนไหว นักวิชาการมีปัญหา เพราะไม่สามารถแก้ไขปัญหาทางการเมืองของไทยได้ ข้อเรียกร้องทางการเมืองจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นตัวเร่งความขัดแย้งให้ปะทุขึ้น

การเรียกร้องความปรองดองจึงเป็นความต่อเนื่องของข้อเรียกร้องในอดีตที่ไม่สนองต่อความต้องการได้ของประชาชนได้ จึงทำให้ความขัดแย้งในการปกครองที่เป็นระบอบเผด็จการดำรงอยู่ในสังคมไทย แต่ก็ไม่ค่อยมีใครยอมรับว่าเป็นระบอบเผด็จการ มีแต่เห็นว่าเป็นประชาธิปไตยเสียส่วนมากของนักวิชาการและนักการเมือง จึงพากันวนเวียนอยู่กับการ่างรัฐธรรมนูญกับการเลือกตั้ง กับรัฐประหาร

ดังนั้น ที่มีการเรียกร้องปรองดองก็ไม่ใช่สิ่งใดเลย ก็คือเรียกร้องการปกครองแบบประชาธิปไตย  แต่กลับไม่เข้าใจประชาธิปไตยนี้ซิปัญหาใหญ่เลย

ซึ่งแท้จริงแล้วเรื่องความปรองดองที่เป็นหลักการประชาธิปไตยทางการเมืองเป็นหลักการประชาธิปไตยอันเดียวกันที่ทุกๆประเทศเข้าใจแบบเดียวกัน และที่มีปัญหาทางการเมืองจะต้องทำเอาหลักการประชาธิปไตยหรือหลักการสร้างความปรองดองไปแก้ไขปัญหาทางการเมือง มีหลักการนี้เท่านั้นที่จะสามารถสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าประเทศไหนๆ

ในข้อเสนอของนายโทนี่แบลร์ ได้นำเสนอไว 5 ข้อที่อาจจะสร้างความปรองดองในประเทศไทยได้  ก็คือหลักการประชาธิปไตย ที่จะต้องสร้างมันขึ้นมาให้ได้ อย่างที่พลเอกชวลิต  ยงใจยุทธ เสนอให้มีการสร้าง “การปกครองเฉพาะกาล”  ขึ้นมา แต่ไม่ค่อยจะมีใครเข้าใจ จึงขอนำเอาหลักการทั้ง 5 ข้อเสนอของโทนี แบลร์ มาอธิบาย ดังนี้

1.ทุกฝ่ายในสังคมต้องร่วมมือกันแบ่งปันความสุขมากกว่าแบ่งแยก

( ข้อเสนอนี้เป็นลักษณะพิเศษของสังคมไทยอยู่แล้ว)

2.ในใจใฝ่ปรองดอง

(เช่นเดียวกันคนไทยมีลักษณะใฝ่สันติ)

3.วางกรองแนวทางหรือโรดแมปไปสู่ประชาธิปไตยที่ชัดเจน

(ปัญหาเรื่องแนวทางยังมีปัญหาเพราะความไม่เข้าใจประชาธิปไตยกับรัฐธรรมนูญ มีความเกี่ยวของและสัมพันธ์กันอย่างไร อันไหนมาก่อนและหลัง  แต่ข้อเสนอของโทนี่แบลร์ ไม่ได้ให้มีการเขียนรัฐธรรมนูญเพราะในการปกครองของอังกฤษ ไม่มีการเขียนรัฐธรรมนูญคือเขาแยกความหมายของประชาธิปไตยกับรัฐธรรมนูญออกจากกันได้  แต่ของไทยกับไปมุ่งแต่ที่จะเขียนรัฐธรรมนูญขึ้นมา เท่านั้น จึงจะเป็นประชาธิปไตย ปัญหาอยู่ตรงนี้  ซึ่งพลเอกชวลิต  ยงใจยุทธ บิ๊กจิ๋ว ได้อธิบายเรื่องนี้มามากและนานแล้ว)

4.มุ่งดำเนินการตามหลักการประชาธิปไตยและ

(หลักการประชาธิปไตย มี 5 ข้อ คือ 1 อำนาจอธิปไตยปวงชน 2. เสรีภาพของบุคคลบริบูรณ์ 3. ความเสนอภาค 4. หลักนิติธรรม 5. การปกครองจากการเลือกตั้ง อย่าเข้าใจว่ามีอยู่แล้วในรัฐธรรมนูญ แต่ นั้นเป็นแค่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ไม่ใช่หลักการที่เป็นหลักการประชาธิปไตยในการปกครองที่แท้จริงของไทย ข้อเสนอของโทนี่แบลร์ ก็คือ ให้สร้างหลักการประชาธิปไตย ขึ้นมา หลักการนี้ ถึงจะสร้างความปรองดองขึ้นมาได้)

5.รัฐบาลต้องมีคำมั่นสัญญาต่อประชาชนว่าจะทำให้มีชีวิตดีขึ้น

(ข้อนี้ทุกรัฐบาลก็สัญญาต่อประชาชนทั้งนั้น แต่ทำไม่ได้ สิ่งที่ทำไม่ได้ คือ จะทำอย่างไรที่จะทำใหอำนาจเป็นของประชาชน)

นี้คือ 5 ข้อเสนอที่สำคัญและเป็นหลักการสากลที่เชื่อว่านักวิชาการและนักการเมืองไม่เข้าใจปัญหาที่นายโทนี่แบลได้พูดถึงหมายถึงอะไร ?เพียงรู้ว่าปรองดองเป็นหนทางที่จะสร้างความยุติธรรมขึ้นมาในสังคมไทย ซึ่งในที่นี้ไม่ได้หมายถึงความยุติธรรมทางศาล แต่เป็นความยุติธรรมทางสังคม และไม่ใช่ความยุติธรรมทางกฎหมาย

เพราะฉะนั้น คนที่จะสามารถทำให้เกิดความปรองดองขึ้นมาได้ จะต้องเป็นบุคคลที่เข้าใจและรู้ปัญหาอย่างดี ซึ่งไม่มีใครนอกจากพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ บิ๊กจิ๋ว เท่านั้น

ดร.พงษ์ศักดิ์ พัวพรพงษ์ (Dr.Sun)

0814404400

Related posts