รับสมัครบุคคลเข้าศึกษาต่อ “หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพดิจิทัล” วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕ 

รับสมัครบุคคลเข้าศึกษาต่อ “หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพดิจิทัล” วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕ 

วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ประกาศเปิดรับสมัครผู้สนใจ เข้าร่วมศึกษา    หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพดิจิทัล (Master of Science Program in Digital Health)  หลักสูตรใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๕  เป็นหลักสูตรระดับปริญญาโท  ๒ ปี   จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า ๓๖ หน่วยกิต  โดยรับสมัครทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ทั้งการพูด อ่าน เขียน บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรฯ นี้ จะมีทักษะที่สำคัญสำหรับการใช้ชีวิตและทำงานในศตวรรษที่ ๒๑  อาทิ (๑) ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (๒) ทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี และ (๓) ทักษะชีวิตและอาชีพ ที่สามารถพัฒนางานวิจัยนวัตกรรมเพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแพทย์ อีกทั้งยังต้องตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

เปิดรับสมัครจำกัด เพียง ๑๕ ท่าน  โดยเปิดรับสมัคร ๒ รอบ ดังนี้ รอบที่ ๑ เปิดรับสมัคร วันที่ ๗ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕ รอบที่ ๒ เปิดรับสมัคร วันที่ ๑ – ๓๐ เมษายน ๒๕๖๕  สามารถติดตามข่าวสารของหลักสูตรสุขภาพดิจิทัล วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้ที่ http://medical.pccms.ac.th   

เฟสบุ๊ค Digital Health PSCM  หรือ [email protected] 02-576-6000 ต่อ 8476

#วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน

#ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

#เป็นเลิศเพื่อทุกชีวิต

หมายเหตุ

–          หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพดิจิทัล  ได้พัฒนาขึ้นบนพื้นฐานของความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อรับมือกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับระบบบริการสุขภาพในเร็ววัน ยิ่งไปกว่านั้น วิกฤตการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ๒๐๑๙ เป็นตัวเร่งการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมดิจิทัลให้เร็วยิ่งขึ้น

–           การเกิดขึ้นของหลักสูตรฯ  จะทำให้เกิดการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลด้านสุขภาพ ได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยจะมีนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ นักวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพ นักเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพ นักพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ นวัตกรหรือนักวิจัยด้านสุขภาพดิจิทัล นักบริหารฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ออกสู่ตลาดแรงงานขั้นสูง ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ

–           นอกจากนี้ หลักสูตรฯ ยังมุ่งเน้นติดอาวุธด้านสุขภาพดิจิทัลให้กับบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน อาทิเช่น แพทย์ พยาบาล เภสัชกร ทันตแพทย์ ฯลฯ ให้มีศักยภาพในการทำงานด้านสุขภาพดิจิทัล เพื่อทำให้ระบบบริการสุขภาพมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และส่งเสริมความเท่าเทียมในการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพที่เหมาะสม ทั่วถึงและยั่งยืนสำหรับทุกคน

–          สมดังวิสัยทัศน์ของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ที่จะ “สร้างสุขภาวะที่ดีและเท่าเทียมเพื่อทุกชีวิต ด้วยวิทยาการขั้นสูง นวัตกรรม และความเป็นเลิศ” และสอดคล้องกับ Global Strategy on Digital Health 2020 -2025 ขององค์การอนามัยโลกที่จะ Promote healthy lives and wellbeing for everyone, everywhere, at all ages”

Related posts