ตามคำสั่ง ตร. ที่ 578/2567 ลง 26 พ.ย.67 และบันทึกสั่งการ ผบ.ตร. ลง 29 พ.ย.67 ท้ายหนังสือ สง.รอง ผบ.ตร.(สส) ที่ 0001(สส)/288 ลง 29 พ.ย.67 มอบหมาย พล.ต.ท.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ ผู้ช่วย ผบ.ตร.(สส 1) รับผิดชอบกำกับการบริหารราชการของ สพฐ.ตร. :
เมื่อวันพุธที่ 18 ธ.ค.67 เวลา 10.00 น. พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผบ.ตร. พล.ต.อ.ธนา ชูวงศ์ รอง ผบ.ตร.(สส) มอบหมายให้ พล.ต.ท.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ ผู้ช่วย ผบ.ตร.(สส 1) ได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมและติดตามการปฏิบัติราชการตามนโยบายของ ผบ.ตร. ณ สพฐ.ตร.
จากนั้นเป็นประธานในการประชุมเพื่อติดตาม แนะนำ ชี้แจงแนวทางการปฏิบัติราชการให้เป็นไปตามนโยบายของผู้บังคับบัญชา โดยมี พล.ต.ต.อาทิชา เปาอินทร์ รอง ผบช.ภ.7 รรท.ผบช.สพฐ.ตร. พล.ต.ท.ดิเรก ธนานนท์นิวาส ที่ปรึกษา (สบ 8) สพฐ.ตร. พล.ต.ต.หัสชัย เรืองมาลัย รอง ผบช.สพฐ.ตร. พล.ต.ต.วรณัน สุขเจริญ รอง ผบช.สพฐ.ตร. พล.ต.ต.วิสูตร นาคจู รอง ผบช.สพฐ.ตร. พล.ต.ต.ทนงค์ ทองประดับเพชร ที่ปรึกษา (สบ 7) สพฐ.ตร. พ.ต.อ.สมใจ พาทีทิน รอง ผบก.ฯ รรท.ผบก.อก.สพฐ.ตร. พล.ต.ต.วาที อัศวุตมางกุร ผบก.พฐก. พล.ต.ต.หญิง วิรญา พรหมายน ผบก.ทว. พล.ต.ต.กัลป์ ทั้งสุพานิช ผบก.สฝจ. และข้าราชการตำรวสังกัด สพฐ.ตร. รอรับการตรวจเยี่ยมและเข้าร่วมการประชุม
ได้กำชับให้ปฏิบัติดังนี้
1.การเตรียมความพร้อมปฏิบัติหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐานกลาง และ ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 1-10
ให้มีการเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งการตรวจสถานที่เกิดเหตุ การตรวจพิสูจน์เอกสาร วัตถุ ร่องรอยต่าง ๆ การตรวจอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน การตรวจทางเคมีและฟิสิกส์ การตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานและของกลางในคดีเกี่ยวกับยาเสพติด การตรวจลายนิ้วมือ ฝ่ามือ ฝ่าเท้าแฝง การตรวจชีววิทยาและดีเอ็นเอ การตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานและของกลางในคดีเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี ให้จัดชุดปฏิบัติการทุกศูนย์พร้อมสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ เมื่อได้รับการประสานจากหน่วยงานพื้นที่ เมื่อมีคดีสำคัญให้หัวหน้าศูนย์ไปอำนวยการควบคุมตรวจที่เกิดเหตุด้วยตนเอง ไม่ต้องรอสั่งการ และให้หัวหน้าศูนย์ด้วยตนเอง (ผบก.พฐก., ผบก.ศพฐ.1-10) รายงานให้ทราบทันที
2.ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นมืออาชีพ ดำรงความยุติธรรม
งานพิสูจน์หลักฐานเป็นงานที่สร้างความเชื่อมั่นให้องค์กร ซึ่งศาลรับฟังโดยมีน้ำหนัก กำชับให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นมืออาชีพ ดำรงความยุติธรรมแก่กระบวนการอาญา ไม่ให้มีช่องว่างให้ผู้กระทำความผิดหลุดรอดไปได้
3.เร่งรัดผลตรวจพิสูจน์ด้วยความรวดเร็ว เที่ยงธรรม
เมื่อออกไปตรวจสถานที่เกิดเหตุ หรือได้รับพยานหลักฐาน ให้เร่งการตรวจพิสูจน์ เพื่อให้สามารถออกผลการตรวจด้วยความรวดเร็ว เที่ยงธรรม เมื่อผลตรวจพิสูจน์ออก ให้แจ้งผลและเร่งรัดติดตามพนักงานสอบสวนมารับผลการตรวจพิสูจน์โดยเร็ว
4.การบริหารคดี (Case Management)
การบริหารคดีให้มีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผล งานสืบสวน งานสอบสวนนิติวิทยาศาสตร์ ต้องทำงานแบบบูรณาการร่วมกัน มีการประสานความร่วมมือและข้อมูลซึ่งกันและกัน โดยแต่ละงานมีหน้าที่หลักๆ ดังนี้
4.1 งานสืบสวน (Investigation)
– สืบ ก่อน/หลัง เกิดเหตุ
– วิเคราะห์รูปแบบคดี (มูลเหตุจูงใจ)
– ตั้งประเด็น (ตัดประเด็น)
– เบิกความ
4.2 งานสอบสวน (Inquiry)
– สอบสวนบุคคล
– รวบรวมพยานหลักฐาน
– ปรับข้อเท็จจริงเข้ากับข้อกฎหมาย
– ทำความเห็นทางคดี
– เบิกความ
4.3 นิติวิทยาศาสตร์ (Forensics)
– ตรวจสถานที่เกิดเหตุ : CSI (ชันสูตรพลิกศพ)
– ตรวจเก็บพยานหลักฐาน (ชันสูตรศพ/บาดแผล)
– ตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ
– เชื่อมโยงพยานหลักฐาน (แผนประทุษกรรม)
– ออกรายงานการตรวจพิสูจน์
– เบิกความ
- ศูนย์ข้อมูลวัตถุระเบิด
ให้เตรียมความพร้อมสามารถออกปฏิบัติหน้าที่ได้ตลอดเวลา และให้การสนับสนุนชุดเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด ในกรณีที่เจ้าหน้าที่เก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิดในพื้นที่ไม่มีความชำนาญในเทคโนโลยีหรือรูปแบบของระเบิดที่ใช้ในครั้งนั้นๆ
- กลุ่มงานพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล
การตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล ให้ประสานฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการพิสูจน์ อาทิเช่น คณะแพทย์ ทันตแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านลายพิมพ์นิ้วมือ และผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล ให้เรียบร้อย ครบถ้วน
- กองทะเบียนประวัติอาชญากร
งานเกี่ยวกับลายพิมพ์นิ้วมือ การตรวจสอบและเปรียบเทียบลายพิมพ์นิ้วมือ การตรวจสอบประวัติ การรับรองรายการประวัติ ต้องให้ดำเนินการด้วยความรวดเร็ว เป็นธรรม โปร่งใส อย่าล่าช้า
- ตรวจสอบการบันทึกประวัติให้เป็นระบบ
กำชับงานทะเบียนประวัติอาชญากรให้บันทึกข้อมูลประวัติอาชญากร ข้อมูลหมายจับให้ เป็นระบบ และเป็นปัจจุบัน รวมถึงรักษาข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นความลับทางราชการ
- ผู้บังคับบัญชาทุกระดับ ควบคุม กำกับดูแล กวดขันความประพฤติ และระเบียบวินัยข้าราชการตำรวจ ตามคำสั่ง ตร. ที่ 1212/2537 โดยมีการออกคำสั่งให้มีการรับผิดชอบในแต่ละระดับ
- ผู้บังคับบัญชาทุกระดับ ต้องประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา ทั้งด้านครองตน ครองคน และครองงาน เน้นย้ำมีความรัก ความสามัคคีในหมู่คณะ อย่าเอาเปรียบผู้ใต้บังคับบัญชา
“นิติวิทยาศาสตร์เปรียบเสมือนเขี้ยวเล็บ ของนักสืบ ” ณ อาคาร 7 กองทะเบียนประวัติอาชญากร (ทว.) แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กทม.